บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2018

data link layer

รูปภาพ
Data Link Layer - Introduction      ดาต้าลิงก์เลเยอร์ ทำหน้าที่ควบคุมสายข้อมูล ระหว่างระบบ กับปลายทางอีกด้านหนึ่ง โดยการรวมตัวอักขระ เข้าด้วยกัน เป็นข่าวสาร แล้วตรวจสอบ ก่อนที่จะส่งลงไปในสายสัญญาณ ดาต้าลิงก์เลเยอร์ทำหน้าที่ คล้ายผู้ควบคุม การจัดเรียง และสับเปลี่ยนตู้รถไฟของขบวนรถไฟ ก่อนจะออกจากสถานี และที่สถานีปลายทาง จะทำหน้าที่แจ้งว่าข้อมูลมาถึงอย่างปลอดภัยหรือไม่ ถ้าข้อมูลเสียหาย จะแจ้งขอให้สถานีต้นทาง ส่งข่าวสารมาใหม่  ตัวอย่าง โปรโตคอล               2 . 2 . 1 IEEE 802 . 2  2 . 1 . 2 IEEE 802 . 2 . 1 . 3 IEEE 802 . 5  2 . 1 . 4 FDDI  ที่มา  http://datacombloggerhaha.blogspot.com/2016/10/protocol-protocol-osi-model-layer_98

8 ip

รูปภาพ
IP IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย  IP Address ที่มาhttp://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2042-tcp-ip-คืออะไร
รูปภาพ
IMAP IMAP (Internet Message Access Protocol)  จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model คือ การจัดการและการ process email ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ server เพียงอย่างเดียว client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน email หรือส่งคำสั่งไป process email บน server เท่านั้น ลักษณะนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน email จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก email จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า email ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ process email เครื่อง client จะต้องเชื่อมต่อกับ server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ pop อย่างไรก็ดี ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้ Smart Phone หรือ Tablet มากมาย จึงเหมาะมากกับการใช้งานในลักษณะของ IMAP ที่มา http://blog.9cloudweb.com/pop-กับ-imap-ต่างกันอย่างไร

ยกตัวอย่าง protocol ที่ทำงานใน Application Layer

รูปภาพ
Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมุลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็นต้น ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ 1.HTTP 2.FTP 3.SMTP ที่มา : https://silvermeit.wordpress.com/2012/07/05/networklayer/

6.SMTP

รูปภาพ
SMTP                เป็นโปรโตคอลแบบ  TCP/IP  ที่ใช้ในการรับส่ง  email  ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการรับส่ง  mail  ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น จึงทำให้เกิดโปรโตคอลที่จะมาแก้ไขในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ  POP  กับ  IMAP  แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า  SMTP  จะมีข้อจำกัดในการรับ  mail  แต่สำหรับการส่ง mail  หลาย ๆ โปรแกรมก็ยังคงนิยมใช้  SMTP  ในการส่ง  mail  อยู่เช่นเดิม ที่มา http://yongandkwang.blogspot.com/2012/02/6-e-mail.html

ยกตัวอย่าง protocol ที่ทำงานใน Presentation Layer

รูปภาพ
Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text,EBCDIC,Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binary ตัวอย่าง protocol ในชั้นนี้คือ 1.รหัส ASCII 2.MPEG 3.JPEG ที่มา : https://silvermeit.wordpress.com/2012/07/05/networklayer/

20.NNP

รูปภาพ
Network News Transfer Protocol (NNP) NNP(Network News Transfer Protocol) ใช้ในการส่งข้อมูลของระบบNetwork เพื่อประโยชน์ในการดูแลและรับข้อมูลเชิงลึกของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มา : https://sites.google.com/site/sasm12312/protocol/protocol-nnp

19.DNS

รูปภาพ
DNS ( Domain Name System) DNS ( Domain Name System) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายทุกตัวจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในการ ระบุตัวเองคล้ายกับชื่อ-นามสกุลของคนเรา หมายเลขที่กล่าวมานี้เรียกว่า IPAddress โดยเขียนในลักษณะนี้ 203.154.126.134 การจดจำ IP Address เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการจำชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเกิดการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่จะให้บริการการสอบถามชื่อเครื่องและ IP Address ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Domain Name Services ในการใช้งานนั้นผู้ใช้เพียงแต่ระบุ IP Address ของเครื่องที่ให้บริการนี้แล้วเมื่อต้องการจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต DNS จะช่วยค้นหา IP Address ของเครื่องที่ต้องการให้เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้ IP Address ที่ได้ในการติดต่อ ที่มา : https://sites.google.com/site/jesadawin/chnid-khxng-pho-r-tho-khxl

18.NetBEUI

รูปภาพ
NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)       NetBEUI  ย่อมาจากคำว่า NetBIOS Extended User Interface เป็น NetBIOS รุ่นใหม่ที่มีการเสริมความสามารถในการ Frame และ Format มาตรฐานสำหรับการส่งผ่านข้อมูลเข้ามา ภายใต้การพัฒนาของ IBM ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือนำ NetBEUI มาใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภท LAN manager ก่อนที่จะถูก Microsoft นำมาพัฒนาต่อเพื่อใช้ใน Windows NT, LAN manager และ Window for Workgroups สำหรับประสิทธิภาพในการติดต่อภายในระบบ LAN เดี่ยวถือได้ว่า NetBEUI สามารถทำงานได้ดีมาก แต่กลับไม่สนับสนุนระบบ Routing กับเครือข่ายอื่น ซึ่งหากต้องการปรับปรุงการ interface ก็จะต้องใช้โปรโตคอลตัวอื่นอย่าง  Internet work Pocket Exchange หรือ TCP/IP แทน ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ติดตั้ง NetBEUI และ TCP/IP ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง รวมถึงการตั้งค่าบนเครื่องแม่ข่ายก็ให้ใช้ NetBEUI เพื่อใช้ติดต่อภายใน LAN และ TCP/IP สำหรับกรณีที่ต้องการติดต่อนอกเหนือจากเครือข่าย LAN ที่มา :  https://www.comgeeks.net/netbeui/

12.ARP

รูปภาพ
                                         ARP (Address Resolution Protocol)                                             A RP (Address Resolution Protocol)        เป็นโปรโตคอลสำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address  (IP address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เช่น IP เวอร์ชัน 4 ใช้การระบุตำแหน่งขนาด 32 บิต ใน Ethernet  ของระบบใช้การระบุ ตำแหน่ง 48 บิต  (การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์รู้จักในชื่อของ Media Access Control หรือ MAC address)  ตาราง ARP ซึ่งมักจะเป็น cache จะรักษาการจับคู่ ระหว่าง MAC address กับ IP address โดย ARP ใช้กฎของโปรโตคอล สำหรับการสร้างการจับคู่และแปลงตำแหน่งทั้งสองฝ่าย

ยกตัวอย่าง protocol ที่ทำงานใน Session Layer

รูปภาพ
Session Layer               ทำหน้าที่ควบคุมการเชื่อมต่อ session เพื่อติดต่อจากต้นทาง กับ ปลายทาง ลองดูจากรูปตัวอย่างเผื่อจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น  เมื่อฝั่งต้นทางต้องการติดต่อไปยังปลายทางด้วย port 80 (เปิด Internet Explorer) ฝั่งต้นทางก็จะทำการติดต่อไปยังปลายทาง โดยการสร้าง session ขึ้นมา เป็น session ที่ 1 ส่งผ่าน Layer 4 โดย random port ต้นทางขึ้นมาเป็น 1025 ส่งไปหาปลายทางด้วย port 80 ระหว่าง ที่ session ที่ 1 ใช้งานอยู่ เราติดต่อไปยังปลายทางอีกครั้งด้วย port 80 (เปิด Google Chrome) ฝั่งต้นทางก็จะทำการสร้าง session ที่ 2 ขึ้นมา ส่งผ่าน Layer 4 โดย random port ต้นทางขึ้นมาเป็น 1026 ส่งไปหาปลายทางด้วย port 80

17.โพรโทคอล X.25

รูปภาพ
โพรโทคอล  X.25      คณะกรรมการ  CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone)  ได้พัฒนา โพรโทคอล มาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล  X.25  ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง ( Packet-switching Network or Packet Distribution Network)  จะแบ่งข้อมูลออก เป็นส่วนเล็กๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย ที่มา : https://sites.google.com/site/jesadawin/chnid-khxng-pho-r-tho-khxl

16.โพรโทคอล H.323

รูปภาพ
โพรโทคอล  H.323      การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท ( Packet Switched Network)  ใช้ โพรโทคอล  H.323  สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด  แบบเรียลไทม์ ( Real-Time)  การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า  แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย  ITU  เมื่อเดือน ตุลาคม  พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้ ที่มา : https://sites.google.com/site/jesadawin/chnid-khxng-pho-r-tho-khxl

15.โพรโทคอลเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA)

รูปภาพ
โพรโทคอลเอสเอ็นเอ  ( System Network Architecture; SNA)       โพรโทคอลเอสเอ็นเอ  ( System Network Architecture; SNA)  รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอเป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่าง เครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517   โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้น   เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก   ที่มา : https://sites.google.com/site/jesadawin/chnid-khxng-pho-r-tho-khxl

ยกตัวอย่าง protocol ที่ทำงานใน Network Layer

รูปภาพ
Layer 3 (Network Layer) ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย หรือ ข้าม network โดยส่งข้อมูลผ่าน Internet Protocol (IP) โดยมีการสร้างที่อยู่ขึ้นมา (Logical Address) เพื่อใช้อ้างอิงเวลาส่งข้อมูล เราเรียกว่า IP address ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากต้นทาง เพื่อไปยังปลายทาง ที่ไม่ได้อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน จำเป็นจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่ทำงานบน Layer 3 นั่นก็คือ Router หรือ Switch Layer 3 โดยใช้ Routing Protocol (OSPF , EIGRP) เพื่อหาเส้นทางและส่งข้อมูลนั้น (IP) ข้ามเครือข่ายไป โดยการทำงานของ Internet Protocol (IP) เป็นการทำงานแบบ Connection-less หมายความว่า IP ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลว่าส่งไปถึงปลายทางไหม แต่มันจะพยายามส่งข้อมูลออกไปด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (Best-Effort) เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่ส่งออกไปแล้วไม่ถึงปลายทาง ต้นทางก็จะไม่รู้เลย ถ้าส่งไปแล้วข้อมูลไม่ถึงปลายทาง ฝั่งต้นทางจะต้องทำการส่งไปใหม่ บน Layer 3 จึงมี Protocol อีกตัวนึงเพื่อใช้ตรวจสอบว่าปลายทางยังมีชีวิตอยู่ไหม ก่อนที่จะส่งข้อมูล นั่นคือ ICMP ครับ แต่ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนเรียกใช้ protocol ตัวนี้เองนะครับ จริงๆ แล้ว ก็ยังมีรายละเอียดข

11.DHCP

รูปภาพ
DHCP  ย่อมาจาก Dynamic Host Configuration Protocal เป็นมาตราฐานการสื่อสารในระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ใช้สำหรับกำหนดหมายเลข/แจกจ่ายหมายเลข IP Address (หมายเลขคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เพื่อให้มีหมายเลขไม่ซ้ำกัน) ภาพประกอบบทความเกี่ยวกับการทำงานของ DHCP Server          DHCP  (Dynamic Host Configuration Protocol (ไดนามิก โฮส คอนฟิคกูเรชั่น โปรโตคอล)) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่ายในระบบเครื่อข่าย เช่น การกำหนดค่า   IP Address (ไอพีแอดเดรส) ให้กับเครื่องลูกข่ายแบบไม่มีการซ้ำกัน, การกำหนดค่า Gateway  DNS  (เกตเวย์ ดีเอ็นเอส) ให้กับเครื่องลูกข่ายแบบอัตโนมัติ เป็นต้น DHCP Server นิยมใช้กับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมากๆ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย หรือความหมายง่ายๆ คือ การตั้งค่าระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงการทำงานของ DHCP Server ว่ามีการทำงานอย่างไรบ้าง หลักการทำงานของ DHCP Server 1. DHCP Discover เริ่มจากเมื่อเปิดเครื่อง Client (ไคลเอนต์) ขึ้นมาก็จะถูกกำ

10.IPX/SPX

รูปภาพ
IPX/SPX (Internetwork Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange ) IPX/SPX (Internetwork Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange )                 IPX  เป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ทำงานอยู่ใน คอมพิวเตอร์   โดยส่วนมากแล้วจะทำงานควบคู่กับโปรโตคอล  SPX  โดยเราจะเห็นการเขียน  IPX/SPX  อยู่เสมอ ก่อนที่เราจะรู้จักโปรโตคอลตัวนี้ให้ดีเสียก่อนเราควรรู้จักก่อนว่าโปรโตคอลมีความสำคัญและมีหน้าที่อย่างไรในระบบเน็ตเวิร์ค                   IPX/SPX  ย่อมากจาก   Internet work  Packet Exchange (IPX)  และ  Sequenced Packet Exchange (SPX)  โดยโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้จะทำงานประสานกันทุกครั้ง ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจาก  Novell  โดยบริษัทนี้ได้นำโปรโตคอล  XNS  ของบริษัท  Xerox Corporation  มาพัฒนาต่อจนกลายเป็น  IPX/SPX หลักการทำงานของโปรโตคอล  IPX/SPX  ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องแยกออกมาเป็นโปรโตคอล  2  ตัวด้วยกันคือ  Internetwork Packet Exchange (IPX)  ทำหน้าที่เหมือนกับพนักงานคัดแยะเอกสาร ซึ่งหน้าที่ของโปรโตคอลตัวนี้จะทำการหาปลายทางในการส่งและติดต่อกับผู้ส่ง โดยทำงานในร

9.TCP/IP

รูปภาพ
http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2042-tcp-ip-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2042-tcp-ip-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html Transmission Control Protocol: TCP TCP/IP คืออะไร การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้TCP ย่อมาจากคำว่า Transmission Control ProtocolIP ย่อมาจากคำว่า Internet ProtocolTCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที

ยกตัวอย่าง protocol ที่ทำงานใน Transport Layer

รูปภาพ
Transport Layer         ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Upper Layer ในการใช้งาน network services ต่างๆ หรือ Application ต่าง จากต้นทางไปยังปลายทาง (end-to-end connection) ในแต่ละ services ได้ โดยใช้ port number ในการส่งข้อมูลของ Layer 4 จะใช้งานผ่าน protocol 2 ตัว คือ TCP และ UDP          เมื่อข้อมูลถูกส่งมาใช้งานผ่าน services Telnet ไปยังปลายทางถูกส่งลงมาที่ Layer 4 ก็จะทำการแยกว่า telnet คือ port number 23 เป็น port number ที่ใช้ติดต่อไปหาปลายทาง แล้วฝั่งต้นทางก็จะ random port number ขึ้นมา เพื่อให้ปลายทางสามารถตอบกลับมาได้เช่นเดียวกัน Transmission Control Protocol (TCP)  มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ จัดแบ่งข้อมูลจากระดับ Application ให้มีขนาดพอเหมาะที่จะส่งไปบนเครือข่าย (Segment) มีการสร้าง Connection กันก่อนที่จะมีการรับส่งข้อมูลกัน (Connection-oriented) มีการใช้ Sequence Number เพื่อจัดลำดับการส่งข้อมูล มีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทางหรือไม่ (Recovery)

14.ICMP

รูปภาพ
I CMP (Internet Control Message Protocol           ICMP (Internet Control Message Protocol : ไอซีเอ็มพี)  เป็น โปรโตคอล(Protocol) ที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานะของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์(Router) ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา เป็นไปได้สองกรณีคือ   ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหาในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม   และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ 

13.RARP

รูปภาพ
RARP (Reverse Address Resolection Protocol)       R ARP (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป RARP มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet, Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring