11.DHCP


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ dhcp

DHCP ย่อมาจาก Dynamic Host Configuration Protocal เป็นมาตราฐานการสื่อสารในระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ใช้สำหรับกำหนดหมายเลข/แจกจ่ายหมายเลข IP Address (หมายเลขคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เพื่อให้มีหมายเลขไม่ซ้ำกัน)



ภาพประกอบบทความเกี่ยวกับการทำงานของ DHCP Server
ภาพประกอบบทความเกี่ยวกับการทำงานของ DHCP Server

        DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol (ไดนามิก โฮส คอนฟิคกูเรชั่น โปรโตคอล)) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่ายในระบบเครื่อข่าย เช่น การกำหนดค่า IP Address (ไอพีแอดเดรส) ให้กับเครื่องลูกข่ายแบบไม่มีการซ้ำกัน, การกำหนดค่า Gateway DNS (เกตเวย์ ดีเอ็นเอส) ให้กับเครื่องลูกข่ายแบบอัตโนมัติ เป็นต้น DHCP Server นิยมใช้กับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมากๆ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย หรือความหมายง่ายๆ คือ การตั้งค่าระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงการทำงานของ DHCP Server ว่ามีการทำงานอย่างไรบ้าง
หลักการทำงานของ DHCP Server
1. DHCP Discover เริ่มจากเมื่อเปิดเครื่อง Client (ไคลเอนต์) ขึ้นมาก็จะถูกกำหนดให้ Obtain an IP address automatically (ออบเทรน แอน ไอพี แอดเดรส ออโตเมทิเคอลี่) ในหน้าจอ TCP/IP Properties ก็จะ Boardcast Message (บรอดคาสต์เมสเสจ) DHCP DISCOVER ออกไป ซึ่งจะไปถึงยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใน Network Secment (เน็ตเวิร์กเซกเมนต์) และยังส่งหมายเลขแอดเดรส MAC ของการ์ดเน็ตเวิร์ก และชื่อแบบ NetBIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย
2. DHCP Offer เครื่อง DHCP Server บอก Client (ไคลเอนต์) ว่าตัวเองสามารถจัดสรร IP Address ให้ได้ Message (เมจเสจ) ของเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดไปถึง Client (ไคลเอนต์) ก่อนก็จะถูกเลือกใช้งานโดยไคลเอนต์ (First-Come-First-Serve)
3. DHCP Request เป็นการตอบรับไปยังเซิร์ฟเวอร์ ตอนนี้ไคลเอนต์เองก็ยังไม่ได้รับไอพีแอดเดรส ดังนั้นการตอบกลับนี้ก็ยังจำเป็นต้องเป็นแบบ “Boardcast”
4. DHCP Acknowledgement (ดีแฮชซีพีแอ็คนอลอิจเม็น) เมื่อได้รับข้อมูลยืนยันเรียบร้อยแล้ว เซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับไปยังไคลเอนต์ประกอบด้วยข้อมูล IP Address ที่จัดสรรให้ไคลเอนต์ ตลอดจนค่า Configuration อื่นๆ
        ประโยชน์ของ DHCP นั้นจะช่วยในเรื่องระบบการจัดการเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญ โดยมีการบริหารและจัดการระบบหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันไม่ว่าจะมีเครื่องลูกข่ายมากขนาดไหนก็ตาม เพราะถ้าไม่มี DHCP เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ การจัดแจงและจ่ายหมายเลขไอพีจะเป็นเรื่องยากถ้าเครือข่ายนั้นเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่

http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/network-system/what-is-dhcp

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

10.IPX/SPX

18.NetBEUI

13.RARP